วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล

     
     1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้ จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ เป็นต้น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคหินและยุคโลหะ

1.1 ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ 500,000 ถึง 4,000 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น ยุคย่อย ๆ ดังนี้
( 1 ) ยุคหินเก่า
( 2 ) ยุคหินกลาง
( 3 ) ยุคหิน
                                                                              

1.2 ยุคโลหะ อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 4,000 ถึง 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 2 ยุคย่อยๆ ดังนี้
( 1 ) ยุคสำริด
( 2 ) ยุคเหล็ก

 

       2 สมัยประวัติศาสตร์
 
เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ความเชื่อ และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นลายลักษร มักพบอยู่ตามผนังถ้ำ แผ่นหิน แผ่นดินเหนียว และกระดาษ เป็นต้น ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ก้าวเข้าสู่ “ สมัยประวัติศาสตร์ ” ในระยะเวลาไม่เท่ากัน เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมความเจริญมีแตกต่างกัน ดังนี้ สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล จึงแบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ๆ ดังนี้
2.2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ( อียิปต์โบราณ ) และอายธรรมกรีก โรมัน ตามลำดับ จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันถูกตีแตกโดยพวกอนารยชน ในปี พ.ศ. 1019
2.2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม(จักรวรรดิโรมันตะวันตก)
ทุกพวกอนารยชนตีแตกในปี พ.ศ. 1019 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1996 สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง เมื่อชนชาติเติร์ก (Turk) ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักรวรรดิโรมันตะวันออก)




การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เป็นการแบ่งช่วงเวลาโดยกำหนดให้เชื่องโยงกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีที่ได้แบ่งยุคสมัยทางประวัตศาสตร์ตามลักษณะหลักฐานออกเป็น ๒ สมัยคือสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
 
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ สมัยที่ยังไม่มีลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ยุคนั้นจึงต้องศึกษาจากเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือหิน เครื่อง
ปั้นดินเผา รวมทั้งสภาพแวดล้อมเช่น ถ้ำ เพิงผาที่อยู่อาศัย และร่องรอยต่างๆ ที่มนุษย์ยุคนั้นทิ้งไว้ เช่น ภาพเขียนตามผนังถ้ำและเพิงผาโครงกระดูก เมล็ดพืช และซากสัตว์สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
๑. ยุคหิน คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งแบ่งตามลักษณะของเครื่องมือหินออกได้อีก ๓ ยุค ได้แก่ ยุคหินเก่า ยุคหินกลางและยุคหินใหม่
 
                                    
 
๒. ยุคโลหะ คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ยุค ได้แก่ ยุคสำริดและยุคหินเหล็ก
สมัยประวัติศาสตร์
สมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยที่มีการใช้ลายลักษณ์อักษรในการสื่อสาร ปัจจุบันการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทยมีหลายแนวคิดแบ่งตามการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ พ.ศ. ๘๐๐ ดังนั้นการแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์ไทยจึงถือว่าตั้งแต่ประมาณพ.ศ. ๘๐๐ ลงมา เป็นสมัยประวัติศาสตร์การเบ่งยุคสมัยทาง
 
ประวัติศาสตร์ไทย แบ่งตามระยะเวลาของเมืองหลวง ดังนี้
๑.สมัยก่อนสุโขทัย เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๘๐๐ เนื่องจากประมาณเวลาช่วงดังกล่าวมีบันทึกของพ่อค้านักเดินทางสำรวจชาวโรมันหรืออียิปต์โบราณ กล่าวถึง ดินแดนแหลมทอง หรือสุวรรณภูมิโดยเรียกว่า ไครเช(Chryse) หรือโกลเดน เคอร์ซอนเนส ( Golden Khersonese ) ซึ่งแปลว่าแหลมทอง ดั้งนั้น จึงถือว่าประวัติศาสตร์ไทยเริ่มต้นประมาณ พ.ศ. ๘๐๐ต้นมา
๒.สมัยสุโขทัย( ประมาณ พ.ศ. ๑๗๙๒ – ๒๐๐๖ ) เริ่มจากปีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์สมบัติและสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีจนกระทั่งเมื่อสุโขทัยถูกรวมกับอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖
๓.สมัยอยุธยา ( พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐ ) เริมจากปีที่รามาธิบดีที่ ๑ ( อู่ทอง ) ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงอยุธยาเป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ จนถึงปีสุดท้ายในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทรพระเจ้าเอกทัศ ) เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย
            ๔. สมัยธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ ) เริ่มจากปีที่พระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ จนถึงปีสุดท้ายของรัชกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕
 ๕.สมัยรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. ๒๓๒๕ – ปัจจุบัน )เริ่มจากปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง เมื่อ พ.ศ. จนถึงปัจจุบัน
 การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เอเชีย
ยุคสมัยประวัติศาสตร์เอเชีย แบ่งตามลักษณะหลักฐานออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัย
ประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือสมัยที่ยังไม่มีลายลักษณ์อักษร ใช้เพื่อการ สื่อสารดังนั้น การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ ในเอเชียสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ จึงต้องศึกษาจากเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ เพิงผาที่ใช้ อยู่อาศัย และร่องรอยต่างๆที่มนุษย์ในยุคนั้นทิ้งไว้ เช่น ภาพเขียนตามผนังถ้ำและเพิงผา โครงกระดูก เมล็ดพืชและซากสัตว์สมัยก่อนประวัติศาสตร์อาจแบ่งออกเป็นยุคต่างๆได้ดังนี้
๑.ยุคหิน คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำหินมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ,๐๐๐ ปีที่แล้วโดยแบ่งตามลักษณะของ เครื่องมือหินออกเป็น ๓ ยุค ได้แก่ ยุคหินเก่า เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ในยุคนี้ทำด้วยหินแบบหยาบๆ ยุคหินกลางมนุษย์รู้จักทำเครื่องมือ หินประณีตขึ้น และมีหลายรูปแบบ ยุคหินใหม่ มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือหินขัดเรียบ ประณีตและมีหลายรูปแบบ เครื่องมือยุคหินพบอยู่ทั่วไปในดินแดนเอเชีย
๒. ยุคโลหะ คือ ยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้เมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ – ,๕๐๐ ปีมาแล้วซึ่งสามารถแบ่งออกได้ เป็นยุคสำริด มนุษย์ในยุคนี้รู้จักนำโลหะมาเจือ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุกมนุษย์ในเอเชียตะวันออกกลางได้ชื่อว่ารู้จักทำเครื่องมือ เครื่องใช้ด้วยโลหะสำริดและเหล็กเป็นพวกแรก
สมัยประวัติศาสตร์
สมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยที่มีลายลักษณ์อักษรใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากการติดต่อค้าขายหรือมีพลเมืองเพิ่มขึ้น เป็นต้นมนุษย์ใน ดินแดนเอเชียประดิษฐ์อักษรขึ้นในเวลาต่างกัน ดังนั้นสมัยประวัติศาสตร์ของชนชาติในเอเชียจึงเริ่มไม่พร้อมกันด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์ จึงกำหนดยุคสมัยประวัติศาสตร์เอเชียเป็นสมัยต่างๆดังนี้
๑..ประวัติศาสตร์สมัยโบราณประมาณ ๒,๐๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ถึงประมาณพุทธศตวรรษที่๑๐)ประวัติศาสตร์ในยุคนี้เริ่มจากการที่ชาวสุเมเรียน ซึ่งตั้งถิ่นฐานในดินแดนเมโสโปเตเมียในเอเชียตะวันออกกลางประดิษฐ์ตัวอักษรเมื่อประมาณ๔,๕๐๐ ปีมาแล้วโดยใช้ต้น อ้อกดลงบนแผ่นดินเหนียวเป็นรูปลิ่มแบบต่างๆ เรียกว่าอักษรคิวนิฟอร์ม ชุมชนที่อยู่ในดินแดนอื่นๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์อินเดียที่เริ่มต้นเมื่อคนในลุ่มแม่น้ำสินธุประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เมื่อประมาณ๒,๐๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราชและประวัติศาสตร์จีนซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำฮวงโหได้ประดิษฐ์ตัวอักษร ขึ้นใช้เมื่อประมาณ ๑,๖๐๐ ปีก่อน พุทธศักราช ประวัติศาสตร์สมัยโบราณสิ้นสุด เมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตก ถูกรุกรานจากอารยชนทางตอนเหนือแล้วล่มสลายลงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐
๒.ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ถึง ๒๑ )ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มเริ่มจากภายหลังอาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลาย แต่อาณาจักรโรมันตะวันออก(ไบแซนติอุม ) ยังคงรุ่งเรืองต่อมาในช่วงประวัติศาสตร์สมัยกลาง และเมื่อศาสนาอิสลามถือกำเนิด ขึ้นใน ศตวรรษที่ ๑๓ได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกกลางและขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางทั่วดินอดนบริเวณเอเชียในพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑ ชาวยุโรปกลุ่มต่างๆเดินทางเข้ามาในดินแดนเอเชียเพื่อติดต่อค้าขายและเผยแผ่ศาสนา ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านทั้งในด้านการค้าเทคโนโลยีและวัฒนธรรมในเวลาต่อมา
           ๓. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่
(ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึง ๒๔ )ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เอเชีย เป็นช่วงเวลาที่ชาติต่างๆเช่น อินเดีย จีน
และญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนแปลงทางเมืองภายในเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ และเริ่มติดต่อกับชาวยุโรปในระยะแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้าขายโดยบางประเทศเข้ามารุกราน และใช้อิทธิพลเข้าควบคุมประเทศในเอเชียจนเกิดการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมในพุทธศตวรรษที่ ๒๔การเข้า มาแสวงหาผลประโยชน์ของชาวยุโรปในเอเชียได้ทำให้เกิดกระแสความคิดเรื่องชาตินิยมอย่างรุนแรงในเอเชียและได้เรียกร้องเอกราชในเวลาต่อมา
             ๔. ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน
(ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ถึงปัจจุบัน )ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันของเอเชียเริ่มต้นจากการที่ประเทศใน เอเชียหลายประเทศได้รับเอกราช และเริ่มสร้างระบบการปกครองประเทศขึ้นใหม่ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศในเอเชียได้แบ่งกลุ่มออกเป็นค่ายประชาธิปไตยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และค่ายคอมมิวนิสต์มีรัสเซียป็นผู้นำบางประเทศมีความขัดแย้งทางด้านความคิดเรื่อง ประชาธิปไตยและสังคมนิยมตลอดจนความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดสงครามขึ้นในหลายประเทศ โดยมีประเทศมหาอำนาจอยู่เบื้องหลัง เรียกว่า สงครามตัวแทน เช่น สงครามเกาหลีและเวียดนาม จนกระทั่งในสตวรรษที่ ๒๕ สงครามเย็นจึงสิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต แม้ว่าสงครามเย็นจะสิ้นสุด แต่ในดินแดนเอเชียในปัจจุบันบางแห่งยังมีการสู้รบกันต่อเนื่อง เช่นสงครามระหว่างปาเลสไตน์ กับอิสราเอล เป็นต้น
การแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์เอเชียแบ่งแบบกว้างๆตามแบบสากล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ทวีปอื่นด้วย เช่น ประวัติศาสตร์ยุโรป ทั้งนี้เพื่อสามารถเปรียบเทียบช่วงเวลาประวัติศาสตร์เอเชียกับประวัติศาสตร์โลกได้
 หลักฐานทางประวัติศาสตร์เอเชีย
การศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะการศึกษาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้น ต้องอาศัยหลักฐานที่เป็นร่องรอยที่เกี่ยวข้องหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าเรียกว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังนั้นหลักฐานทางประวัตศาสตร์จึงหมายถึง สิ่งที่ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต และเหลือตกค้างเป็นร่องรอยสืบต่อให้นักประวัติศาสตร์นำมาใช้เป็นข้อมูล ในการศึกษาหาความจริง ซึ่งสามารถจำแนกได้หลายประเภทในที่นี้ได้แบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์เอเชียอกเป็นหลักฐานที่กำหนดตามลักษณะอักษรคือ หลัก ฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับหลักบานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ต่างๆ เช่น จารึก ตำนานพงศาวดารจดหมายเหตุ และหนังสือพิมพ์ หลักฐานจารึกในเอเชีย อาทิจารึกอักษรคิวนิฟอร์มซึ่งเป็นอักษรของ
ชาวเมโสโปเตเมียซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในแม่น้ำสินธุ และอักษรจีน ที่จารึกบนกระดูกสัตว์เป็นตัวอักษรซึ่งใช้ในลุ่มแม่น้ำฮวงโห
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐาน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ซึ่ง นักประวัติศาสตร์ อาจศึกษาด้วยตนเองหรืออาศัยการตีความจากนักวิชาการสาขาอื่นๆ เช่นนักมานุษยวิทยา นักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์เป็นต้น หลักฐานประเภท นี้ ได้แก่ หลักฐานทางโบราณสถาน โบราณวัตถุหลักฐานทางด้านศิลปกรรม
หลักฐานประเภทโสตทัศน์ นาฏศิลป์ และคำบอกเล่า เป็นต้น
หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน ในดินแดนเอเชียเป็นหลักฐานสำคัญส่วนหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เช่นประเทศ อินเดียและจีนมีโบราณสถาน
ของศาสนาต่างๆ ได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาฮินดูและศาสนา อิสลาม ตัวอย่างหลักฐาน ประเภทนี้เช่นโบราณ
สถานธรรมเมสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งถือเป็นปฐมเทศนาโบราณสถานแห่งนี้
เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั่วโลกให้ความเคารพและเดินทางมานมัสการทุกวันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่นำมาใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนาและประเทศอินเดียได้อย่างดี และเชื่อถือได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น