วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค

              
          
                 ในมาตรา 3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค .2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ..2541บัญญัติไว้ว่า ผู้บริโภคนั้นหมายถึง ผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้ที่ได้รับการจูงใจ หรือ การชักชวนจากผู้ประกอบกิจการด้านธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้า ทั้งยังหมายถึง ผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้รับบริการจากผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจโดยสุจริต แม้จะยังไม่ได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม


                และในมาตรานี้ ยังให้คำนิยามของ ผู้ประกอบกิจการด้านธุรกิจ ว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อนำไปขายผู้สั่งหรือ นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อทำการค้าขาย หรือ ผู้ซื้อเพื่อนำสิ้นค้าขายต่อ หรือเป็นผู้ให้บริการ และทั้งยังรวมถึงผู้ประกอบกิจการด้านโฆษณา

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล

     
     1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้ จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ เป็นต้น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคหินและยุคโลหะ

การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก




การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก
 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด เพียงแต่ความรุนแรงของปัญหาในแต่ละซีกโลกอาจไม่เท่ากันหรือแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมและสภาพพื้นที่ที่ปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก

การเมืองไทยปัจจุบัน

การเมืองไทยปัจจุบันอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นนายกรัฐมนตรี คสช. ออกประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาบางประเภท และกรณีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. (ประกาศที่ 37)
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งถูกเลิกไปแล้ว ประเทศไทยปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากการถ่วงดุลอำนาจ ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายตุลาการ มีศาลเป็นองค์กรบริหารอำนาจ
ส่วนใหญ่ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองเป็นระบบหลายพรรค กล่าวคือ ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมปกครองประเทศ
ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังมีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่าและหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยเกิดรัฐประหารหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุดเล่า จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 19 ฉบับ (นับรวมฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว

เศรษฐศาสตร์


เศรษฐศาสตร์ (อังกฤษeconomics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและบริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" [1]

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ประวัติศาสตร์ของเอเชีย


แผนที่ทวีปเอเชีย ปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892)
ประวัติศาสตร์ของเอเชีย ปรากฏให้เห็น ในรูปของประวัติศาสตร์ภูมิภาคชายฝั่งรอบนอกของทวีปหลาย ๆภูมิภาคที่มีความแตกต่างกัน คือเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง ซึ่งพื้นที่ทั้ง 3 ภูมิภาคนี้ถูกเชื่อมโยงติดต่อกันโดยดินแดนแห่งทุ่งหญ้ายูเรเชียที่กว้างใหญ่ไพศาลภายในทวีป
พื้นที่ชายฝั่งทวีปเอเชียคือพื้นที่ที่อารยธรรมยุคแรก ๆ ก่อกำเนิดขึ้น ทั้ง 3 ภูมิภาคพัฒนาอู่อารยธรรมของตนขึ้นมาบนพื้นที่บริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ 3 สาย คือ

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชีย


ลักษณะภูมิประเทศ

ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิด ในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้ 5เขตคือ